รับตรวจเช็ค-จำหน่าย-บริการด้านป้องกันความปลอดภัยเพื่อความพร้อม และปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ไฟอลาม ไฟฉุกเฉิน ป้ายสถิติ ป้ายเซฟตี้ ตู้ดับเพลิง สายดับเพลิงข้อต่อ วาวล์น้ำ หัวฉัดดับเพลิง ไฟฉุกเฉิน ไฟทางออก แบตเตอรี่ เครื่องดักแมลง และอุปกรณ์เซปตี้
  " alt="" alignment="" border="" hspace="" vspace=""> ช่องทางติดต่อร้านค้า
line ID : adminprime อีเมลล์ : m.protecthai@gmail.com
TEL .086 - 627 - 5566 TEL .086 - 628 - 5566 TEL .086 - 786 - 5006 TEL .081 - 347 - 0448
ร้านค้าหยุดประเพณีสงกรานต์ 13-16 เมษายน 2561
|
สินค้า/บริการ >>> เครื่องดับเพลิง-Fire Extinguisher
เครื่องดับเพลิง-Fire Extinguisher
เครื่องดับเพลิงเบื้องต้น
Fire
Extinguisher
วัตถุประสงค์ (Objective )
1. เพื่อให้รู้จักวิธีใช้เครื่องดับเพลิงชนิดยกหิ้วดับเพลิงเริ่มเกิดได้
2. ป้องกันการติดต่อลุกลามของเพลิงที่ลุกไหม้ให้อยู่ในวงจำกัดได้
3. ช่วยลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้ลดน้อยลงได้ด้วยตนเอง
4. อธิบายชนิดของเครื่องดับเพลิงแต่ละชนิดได้และนำไปใช้ได้ถูกต้องตามชนิดของเครื่องดับเพลิง
5. รู้จักการเลือกซื้อ และบำรุงรักษา
เครื่องดับเพลิงให้มีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
เครื่องดับเพลิงเบื้องต้นคืออะไร
เครื่องดับเพลิงที่ใช้ในการดับเพลิงเบื้องต้น เป็นเครื่องดับเพลิงขนาดเล็ก
สามารถหยิบยกหิ้วไปดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักประมาณ 10
ปอนด์ ติดตั้งไว้ตามอาคารสถานที่ต่างๆ ที่อาจจะมีอัคคีภัยเกิดขึ้น
และสามารถหยิบใช้ได้ทันท่วงที มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด
และเครื่องดับเพลิงแต่ละชนิดจะดับเพลิงได้แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ประเภทของไฟ
และคุณภาพของเครื่องดับเพลิงแต่ละชนิด แต่ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
เป็นชนิดที่สามารถดับไฟได้หลายประเภทและมีประสิทธิภาพดี มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ
1.
คาร์บอนไดออกไซด์แบบสะสมความดัน ( CO 2 )
เป็นเครื่องดับเพลิง ที่มีภาชนะทำด้วยโลหะที่มีความแข็งแรง
สามารถทนต่อความอัดดันได้ถึง 3.375 ปอนด์/
ตารางนิ้ว
ภายในเครื่องดับเพลิงบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีความดันสูงประมาณ 800-900
ปอนด์/ตารางนิ้ว จนก๊าซกลายเป็นของเหลว
ภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่า 88 องศาฟาเรนไฮด์
และเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ มีหัวฉีดทำด้วยไฟเบอร์เป็นรูปแตร มีวาล์วแบบบีบไก
สำหรับให้พุ่งออกมาเพื่อป้องกันมิให้มีการเปิดก๊าซฉีดโดยไม่จำเป็น จึงมีสลักขัดไว้
หรือมีสายคาดผูกรัดไว้
การใช้งาน
ให้ดึงสลักหรือสายรัดออก จับที่ปากกลวย
ชี้ไปตรงจุดที่เกิดเหตุ ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 3-6 ฟุต
แล้วบีบไก ก๊าซจะพุ่งออกมา มีลักษณะคล้ายควันสีขาว และเย็นจัดจนเป็นน้ำแข็งแห้ง
ซึ่งการฉีดเครื่องดับเพลิงชนิดนี้ ผู้ฉีดต้องปฏิบัติดังนี้
1. เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ 3-6
ฟุต
2. ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก
3. ยกหัวฉีดปากกรวยชี้ไปที่ฐานของไฟ ( ทำมุมประมาณ 45 องศา )
4. บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
5. ให้ฉีดไปตามทางยาว และกราดหัวฉีดไปช้า ๆ
6. ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า
ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วางอยู่ในระดับต่างกัน
ให้ฉีดจากข้างล่างไปหาข้างบน และถ้าน้ำมันรั่วไหลให้ฉีดจาก
ปลายทางที่รั่วไหลไปยังจุดที่รั่วไหล
และเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
ต้องรีบตัดกระแสไฟฟ้าก่อน เพื่อป้องกันมิให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้
เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์นี้
เหมาะสำหรับใช้ดับเพลิงประเภท B และ C จะมีประสิทธิภาพ สามารถใช้งานได้มากกว่า 1 ครั้ง
การบำรุงรักษา เนื่องจากเครื่องดับเพลิงชนิด ซีโอทู สามารถใช้งานได้มากว่า 1 ครั้ง และไม่มีเกจ์วัดแรงดัน ฉะนั้นหลังจากใช้งาน ต้องหมั่นชั่งน้ำหนัก หากพบว่าน้ำหนักลดลงมากกว่า 20 % ให้ทำการเติมน้ำยาใหม่ทันที่
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ในที่ที่มีลมพัดจัด จะทำให้ก๊าซลอยและจางไป จนไม่สามารถครอบทับผิว
หน้าของไฟได้
และผู้ฉีดต้องระวังภาวะการขาดออกซิเจน เมื่อฉีดในที่ที่มีอากาศระบายไม่ดีพอ
2.
เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (DRY CHEMICAL)
เครื่องดับเพลิงชนิดนี้
บรรจุผงเคมีที่ผ่านกรรมวิธีอบแห้งทางกระบวนการเคมี
โดยใช้ผงเคมีโปรแตสเซียมไบคาร์บอเนต หรือโปรแตสเซียมคลอไรด์ (ผงสีฟ้า) หรือผงแอมโมเนียฟอสเฟส (ผงสีเหลือง) บรรจุอยู่ภายในถัง ประมาณ 97 % ของน้ำยา และผสมสารกันชื้น เพื่อไม่ให้ผงเคมีจับตัวกันเป็นก้อน
โดยมีก๊าซไนโตรเจน หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีความดันสูงประมาณ 200 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นตัวขับดันผงเคมีออกมา
การใช้งาน นำเครื่องดับเพลิงไปยังที่เกิดเหตุ
ดึงสลักออกจับปลายสายชี้ไปที่เกิดเหตุ และกดไกเพื่อเปิดวาล์วฉีดไปที่ฐานของไฟ
ให้เข้าทางด้านเหนือลม โดยยืนห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 4-5 ฟุต
กราดหัวฉีดไปช้าๆ และฉีดไปให้ทั่ว เพื่อให้ผงเคมีคลุมผิวหน้าของไฟไว้ เดินไปช้า ๆ
ฉีดไปเรื่อย ๆ จนกว่าไฟจะดับลง
การบำรุงรักษา
1. หมั่นตรวจสอบมาตรวัด
ความดันว่ามาก๊าซรั่วออกมาหรือไม่
2. เก็บไว้ในที่ร่ม ไม่ควรตากแดด
3. ตรวจสอบทุก ๆ 6 เดือน
ข้อควรระวัง
1. เมื่อฉีดแล้วใช้ได้ครั้งเดียว
ให้รีบนำไปอัดใหม่
2. ไม่ควรนำไปใช้ดับเพลิงไหม้เครื่องคอมพิวเตอร์
เนื่องจากผงเคมีจะตกค้างอยู่ในเครื่องทำให้เครื่องเสียหายมากกว่าเดิม
3. เมื่อฉีดแล้วให้รีบออกจากห้องทันที
และหากผงเคมีโดนหน้า หรือตัว ต้องรีบล้างออกด้วยน้ำทันที
4. ไม่ควรเข้าไปฉีดใกล้เกินไป
เพราะแรงดันของก๊าซมีมาก จะทำให้ไฟกระเด็นกลับมาถูกตัวผู้ใช้ได้
5. เครื่องดับเพลิงขนาด 10-15 ปอนด์ สามารถฉีดดับเพลิงได้ประมาณ 20-30 วินาที
เท่านั้น ก่อนฉีดควรมั่นใจว่าฉีดได้ถูกเป้าหมาย และควรจะศึกษารายละเอียดก่อนใช้
ไม่เช่นนั้นไฟอาจจะไม่ดับและจะเป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้เอง
6. ก่อนนำเครื่องดับเพลิงไปใช้
ต้องมั่นใจว่าเครื่องดับเพลิงนั้นใช้ได้ และใช้ถูกกับประเภทของไฟ
7. ควรฉีดเมื่อเห็นแสงเพลิงเท่านั้น
และระวังอันตรายจากก๊าซพิษ ควันไฟ และการขาดอากาศหายใจ
3.
เครื่องดับเพลิงแบบ ฮาลอน 1211, 1301
น้ำยาฮาลอน 1211,1301 ที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะเครื่องดับเพลิงด้วยระบบสะสมความดันของก๊าซ
ไนโตรเจนด้วยความดัน 40 ปอนด์/ตารางนิ้ว ที่อุณหภูมิ 70 องศาฟาเรนไฮด์
ซึ่งขนาดที่ใช้มีหลายขนาดแล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะผลิตออกมา แต่ส่วนมาก จะมีขนาด 2
ปอนด์ 5 ปอนด์ 10 ปอนด์
หรือ 15-20 ปอนด์
การใช้งาน นำเครื่องดับเพลิงไปที่เกิดเหตุ
ดึงสลักออก และจับที่ปลายหัวฉีด ชี้ไปที่ฐานของไฟ กดไก
เพื่อเปิดวาล์วให้น้ำยาออกมา โดยผู้ฉีดควรอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 10-13
ฟุต ฉีดกราดไปช้า ๆ ให้ทั่วจนแน่ใจว่าไฟดับแล้ว ให้ถอยออกมา
เพราะเมื่อน้ำยาไปโดนกับความร้อนแล้ว ก๊าซฮาลอน 1211,1301 จะขยายตัวประมาณ
4-5 เท่าในการคลุมดับ จะทำให้ออกซิเจนบริเวณนั้นขาดไป
อาจเป็นอันตรายต่อคนในบริเวณนั้นได้
ข้อควรระวัง
ให้เก็บไว้ในที่ร่ม
ไม่ให้โดนแสงแดด
เมื่อน้ำยาทำปฏิกิริยากับความร้อนจะเกิดก๊าซพิษขึ้น
ฉะนั้นเมื่อฉีดแล้วควรถอยออกมาให้ห่างไกล
การติดตั้งเครื่องดับเพลิง
ควรติดตั้งสูงจากพื้นถึงส่วนที่สูงที่สุดของเครื่องดับเพลิง
ไม่เกิน 150 เซนติเมตร สำหรับขนาดน้ำหนักถัง
รวมไม่เกิน 10 กิโลกรัม
เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบใช้ได้สะดวก และติดตั้งสูงไม่เกิน 90 เซนติเมตร
สำหรับถังขนาดหนักและควรมีป้ายชี้ตำแหน่งที่ตั้งเครื่องดับเพลิงไว้เหนือเครื่องดับเพลิง
เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน
เครื่องดับเพลิงทุกเครื่องที่ติดตั้งในประเทศไทย
ต้องมีรายละเอียดเป็นภาษาไทยด้วย
|