สาเหตุเพลิงไหม้

เพลิงไหม้ มีสาเหตุ ! เราจะป้องกันได้อย่างไร ? ที่นี่มีคำตอบ

สาเหตุ เพลิงไหม้ คือ ?

จริงๆแล้ว สาเหตุ เพลิงไหม้ นั้นก็เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่ส่วนใหญ่ ที่มาของสาเหตุหลากหลายสาเหตุนั้น ก็จะมาจากความประมาทและมองข้ามสิ่งต่างๆเล็กๆน้อยๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้แก๊ส หรือ น้ำมัน อย่างไม่ระมัดระวัง สิ่งที่ยกตัวอย่างมานี้ เราสามารถป้องกันได้

การเผาขยะ, ใบไม้, และหญ้าแห้ง

หลายๆครั้งที่สาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ที่สร้างความสูญเสียมหาศาล เกิดจากสาเหตุเล็กๆน้อยๆ อย่างการ เผาใบไม้และหญ้าแห้ง ดังนั้น เราไม่ควรมองข้ามจุดที่มีไฟ แม้จะเป็นจุดเล็กๆก็ตาม นั่นก็คือ เราไม่ควรเผาใบไหม้และหญ้าแห้งในที่ที่มีลมแรง หรือ หากจะเผาก็ควรดูแลอย่างใกล้ชิด

เผาใบไม้

ไฟฟ้าลัดวงจร

เครื่องใช้ไฟฟ้า ไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเป็นสาเหตุต้นๆของเพลิงไหม้ก็ว่าได้ ซึ่งหลายๆคนอาจจะคิดว่าเราไม่สามารถป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้ ซึ่งเราสามารถบอกได้เลยว่าไม่เป็นความจริง … เราสามารถป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรได้ หากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้รับการดูแล บำรุงรักษาที่ดี เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรคือ สภาพการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้งานมานานเกินไป และขาดการบำรุงรักษา

ไฟฟ้าลัดวงจร

การจุดไฟในบริเวณที่มีสารระเหย

สาเหตุนี้ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่อยู่คู่คนไทยมานานแสนนาน เนื่องจากสาเหตุนี้ครอบคลุมไปถึงการจุดธูปเทียนไหว้พระ (จุดทิ้งไว้แล้วไม่ได้ดับ) และนอกจากการจุดธูปเทียนไหว้พระแล้ว ก็ยังมีการกระทำอื่นๆ เช่น การทิ้งก้นบุหรี่ การจุดบุหรี่ หรือการสูบบุหรี่ไม่เป็นที่เป็น เป็นต้น ซึ่งการกระทำเหล่านี้อาจทำให้เกิดจุดติด จากสารระเหยในอาณาบริเวณ เช่น น้ำมันเบนซิน จนก่อให้เกิดเพลิงไหม้

ไฟไหม้จากธูป

แล้วเราจะป้องกัน เพลิงไหม้ ได้อย่างไร?

เหตุเพลิงไหม้ นั้นยากจะควบคุม มันเปรียบเสมือน “ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ” และด้วยความประมาทของคน ที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เหตุเพลิงไหม้นั้นก็สามารถจะเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เราจึงต้องช่วยกันระวัง และ ป้องกันเหตุ เพลิงไหม้ ที่จะเกิดขึ้นได้ จริงๆแล้วการป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้แบบเฉพาะทางนั้น มีข้อปฏิบัติมากมาย แต่เราจะขอแชร์ ข้อควรปฏิบัติง่ายๆ 5 ประการ ดังนี้

  1. จัดระเบียบที่พักอาศัยและอาคาร ทั้งภายในและภายนอก

    จัดระเบียบในที่นี้ หมายถึง กำจัดสิ่งที่เป็นขยะ สิ่งของที่รกรุงรัง ภายในและนอกสถานที่ให้หมดไป และ เก็บสิ่งที่อาจเป็นต้นเหตุหรือสาเหตุเพลิงไหม้ไว้อย่างเป็นระเบียบ และเป็นสัดส่วน

  2. หมั่นตรวจตรา และ ซ่อมบำรุง สิ่งของที่นำมาใช้ ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์

    ตัวอย่างของสิ่งของที่กล่าวข้างต้น คือ สายไฟ, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร, เครื่องทำความร้อน, เตาแก๊ส, และอื่นๆ ซึ่งหากหมั่นตรวจตรา และ ซ่อมบำรุงสิ่งของเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์แล้วก็จะช่วยป้องกันการเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ดียิ่งขึ้น

  3. มีจิตสำนึก พึงระวัง ในข้อห้ามต่างๆ

    พึงระวังในข้อห้ามต่างๆ เช่น
    • อย่าให้เด็กเล่นไฟ
    • อย่าจุดธูปเทียนทิ้งไว้
    • อย่าทิ้งก้นบุหรี่ หรือ สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบและบนที่นอน
    • อย่าจุดหรือเผาขยะโดยไม่มีคนดูแล
    • อย่าลืมถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้งาน
    • อย่าวางเครื่องใช้ไฟฟ้าติดผนัง ทำให้ความร้อนระบายออกมาไม่ได้
    • อย่าลืมปิดเตาหรือวาล์วให้เรียบร้อย หลังเสร็จการหุงต้ม
    • อย่าลืมเก็บเครื่องเขียนให้มิดชิด เพราะเครื่องเขียนบางชนิด ไวไฟ
    • อย่าทิ้งอาคาร หรือ บ้านเรือนไว้กับเด็กและคนชราโดยไม่มีใครดูแล
    • อย่าฉีด ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ใกล้ไฟ (อาจระเบิดได้)
    • อย่าลืมติดตั้งสายล่อฟ้าบนอาคาร (เพื่อป้องกันฟ้าผ่า)
    • อย่าลืมเก็บสารเคมีที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ให้มิดชิดและปลอดภัย (เคยมีเหตุขวดบรรจุฟอสฟอรัสตกแตก ทำให้เกิดไฟไหม้)
    • อย่าประมาทในการใช้ เครื่องพ่นไฟ, เครื่องตัดโลหะ, เครื่องเชื่อมโลหะ

  4. ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามข้อห้ามต่างๆที่สถานที่นั้นวางไว้

    ในแต่ละสถานที่ก็จะมีข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่างๆ ซึ่งเราก็ควรจะเคารพกฎหรือข้อห้ามต่างๆนั้น เช่น ในปั้มน้ำมันห้ามสูบบุหรี่ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และ ผู้อื่น รวมถึง ความปลอดภัยของทรัพย์สินในสถานที่นั้นๆด้วย

  5. เตรียม น้ำ, ทราย, หรือ อุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆให้พร้อมรับมือก่อนไฟจะมาถึง

    เราควรเตรียมสิ่งของต่างๆข้างต้นไว้ เพื่อป้องกันการลุกลามของไฟเบื้องต้น และ สำหรับอุปกรณ์ดับเพลิง และ เครื่องดับเพลิงนั้น เราต้องรู้วิธีการใช้ที่ถูกต้อง

ขอบคุณบทความดีๆจาก protecthai.com และ luckysafety.com

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *