ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออก
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ทุกอาคารจำเป็นต้องติดตั้ง เพื่อใช้งานเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ ไฟดับ ผู้อยู่ในอาคารจะได้อพยพหนีภัยออกจากอาคารได้อย่างปลอดภัย
มาตรฐาน วสท. 2004 กำหนดให้หากเกิดกรณีไฟดับแล้วอาคารต่าง ๆ ต้อป้ายไฟทางออกฉุกเฉินซึ่งเป็นความปลอดภัยขั้นต่ำของอาคารตามกฎหมาย โดยกำหนดให้ติดตั้งป้ายไฟทางออกฉุกเฉินที่ประตูทางออก และตลอดเส้นทางหนีไฟ โดยใช้รูปสัญลักษณ์คนก้าวขาผ่านประตูพร้อมกับลูกศร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์รูปภาพตามมาตรฐานสากล ISO และ วสท. ท่านสามารถอ่านข้อกำหนด วสท. คร่าวๆได้ที่ด้านล่างสุดของหน้านี้
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน
ข้อกำหนดของป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออก
รูปแบบของป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออกต้องอยู่ในจุดที่คนสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน และ รูปแบบป้ายต้องเป็นไปตามข้อกำหนด โดยข้อกำหนดนั้น แล้วแต่เราจะเลือกใช้ ว่าเราจะใช้ข้อกำหนดของหน่วยงาน กรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.) หรือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ซึ่งรูปแบบป้ายและการติดตั้งตามข้อกำหนดของแต่ละหน่วยงานก็จะแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ดูแลอาคารจึงต้องเข้าใจและเลือกใช้ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออกให้เหมาะสมกับข้อกำหนดที่ผู้ตรวจสอบเลือกใช้ ซึ่งข้อกำหนดของ วสท. นั้นเป็นข้อกำหนดที่ใช้กันแพร่หลาย ซึ่งจะกำหนดไว้ว่า ขนาดตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า 10 ซม. , ควรติดตั้งในระยะ 24 ม. และ ไม่มีอะไรบดบังป้ายไฟทางออก ซึ่งขนาดของป้ายนี้ (ตัวอักษร 10 ซม.) เป็นป้ายขนาดไม่ใหญ่ เหมาะสำหรับที่ๆมีพื้นที่ไม่มากนัก เช่น ทางเดิน หรือ หากต้องการใช้ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออกในพื้นที่ๆมีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีก อย่างเช่น โรงาาน, ห้องโถงต่างๆ ก็ควรเลือกป้ายไฟทางออกฉุกเฉินที่มีขนาดใหญ่ตาม เช่น ตัวอักษรสูง 15 ซม. ขึ้นไป ซึ่งความเหมาะสมของขนาดป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออกนั้นดูกันที่การมองเห็นตัวอักษรและทิศทางอพยพที่ชัดเจนนั่นเองรูปแบบการติดตั้งและดูแลไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออก
1. กำหนดให้ติดตั้งตามทางเดินเพื่อบอกเส้นทางอพยพไปยังประตูทางออกที่ใกล้ที่สุด2. ติดตั้งป้ายไฟทางออกฉุกเฉินเหนือประตู หรือ ตามทางเดินที่ความสูง 2 ม. ขึ้นไป
3. ป้ายไฟทางออกฉุกเฉินที่มีตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์สูง 10 ซม. ต้องติดตั้งในระยะ 24 ม. , 15 ซม. ในระยะ 36 ม. , 20 ซม. ในระยะ 48 ม.
4. แหล่งจ่ายไฟของไฟทางออกฉุกเฉินต้องมาจากแหล่งไฟฟ้าปกติ และ มีแบตเตอรี่เพื่อสำรองไฟ
5. เมื่อไฟดับ ป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออก ต้องสว่างนานกว่า 90 นาที หรือ สำหรับอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูง ต้องสว่างนานกว่า 120 นาที
6. ต้องตรวจสอบป้ายไฟทางออกฉุกเฉิน/กล่องไฟทางออกทุก 3 เดือน โดยการทดสอบการสำรองไฟของป้าย 30นาที และ ทุก 1 ปี ทดสอบการสำรองไฟของป้าย 1 ชั่วโมง โดยการตรวจสอบจะต้องมีคนจดบันทึกผลการตรวจสอบ เพื่อนำมาตรวจสอบภายหลังได้